วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Onsen ยาสามัญประจำทริป
ไม่ว่าจะอากาศติดลบสิบองศา หิมะหนาท่วมตัว
หรือร้อน 30 องศา ชนิดที่ว่ายืนเฉยๆก็เหงื่อแตกได้
"Onsen" ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเที่ยวญี่ปุ่น
เป็นยาสามัญประจำทริปที่ขจัดความเมื่อยล้าที่สั่งสมมาจากการทำงานในเมืองไทย
สร้างความสดชื่นให้มีแรงออกเดินทางท่องเที่ยวต่อไป
และเป็นสิ่งแรกที่คิดถึงทุกครั้งหลังการเดินทางจบลง
ประสบการณ์ออนเซนครั้งแรกเกิดขึ้นฟรีแบบไม่มีเสียสตางค์
ณ ร้านข้าวหน้าเนื้อเล็กๆแห่งหนึ่งในเมือง Takayama
มิตรภาพระหว่างเจ้าบ้านชาวญี่ปุ่น กับผู้มาเยือน
เกิดขึ้นหลังจากการชักชวนให้ลองจิบสาเกหลังมื้ออาหารเย็น
ก่อนที่จะจบลงด้วยคำเชิญชวนให้แช่ออนเซนขณะที่อุณหภูมิเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ
ถึงแม้ตอนนั้นจะไม่รู้ว่าการแช่ออนเซนเป็นยังไง
ประสบการณ์ออนเซนที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเพียง 5 ชั่วโมงที่เมือง Gero
คือการนำเท้าไปจุ่มในน้ำอุ่น ไม่เพียงพอที่ช่วยเติมจินตนาการถึงความรู้สึกที่ลงไปแช่ทั้งตัว
แต่ด้วยน้ำใจของเจ้าบ้านที่เกิดจากน้ำเมา พวกเราก็เลยฝ่าความหนาว
เดินไปยังโรงแรมแห่งหนึ่งบนเนินเขา
โดยมารู้ทีหลังว่า ลุงที่ร้านข้าวหน้าเนื้อ เป็นเจ้าของโรงแรมแห่งนี้
งกๆเงิ่นๆอยู่กว่า 15 นาที กับการหาผ้าเช็ดตัว ก่อนจะถึงบางอ้อ เมื่อมีคนญี่ปุ่นมาใช้บริการว่า
การแช่ออนเซน ต้องอาศัยใจที่กล้าแก้ผ้า และหน้าที่ต้องยิ้มรับกับความล้อนจ้อน
ทำใจสักพักว่า มันเป็นธรรมเนียมของเขา เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
ก่อนตัดใจถอดเสื้อผ้าทิ้งไว้ในล็อคเกอร์ เดินดุ่ยๆเข้าไปล้างตัว (ทำตามคนญี่ปุ่น)
ก่อนลงไปแช่ในน้ำที่ร้อนเกือบ 40 องศา
ผ่านไป 10 นาที ความสบาย และความสงบ เกิดขึ้นอย่างประหลาด
ความร้อนของน้ำกับอากาศที่หนาวจับใจ กลายเป็นความสมดุล
เป็นความรู้สึกผ่อนคลายที่เข้ามาแทนที่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
ในตอนนั้น รู้ทันทีว่า ได้เกิดอาการ "เสพติดออนเซน" เข้าให้แล้ว
เดินออกมาจากออนเซน แต่งตัว เป่าผม ทาครีมให้เรียบร้อย
เลือกกดน้ำในตู้ จิบไประหว่างนั่งอยู่บนเก้าอี้นวดไฟฟ้า
ความสุขง่ายๆที่กลายเป็น A Must ในการเที่ยวญี่ปุ่นครั้งต่อๆไป
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Seishun 18 Kippu - เวลาเดินช้าบนรถไฟ
นักท่องเที่ยวงบจำกัดแบบเรา การเดินทางด้วย JR Pass ที่ราคาเกือบหมื่นบาทต่อการเดินทาง 7 วัน
ลองสัมผัสบรรยากาศรถไฟท้องถิ่น และอาจพบว่าความช้าไม่ได้มากับความน่าเบื่อเสมอไป
เพราะในบางช่วงของการเดินทางด้วยตั๋ว Seishun 18 Kippu ทำให้
พวกเรา 5 คนเหมือนมีโบกี้รถไฟเป็นของตัวเองให้เลือกที่นั่งได้อย่างอิสระ
พวกเราได้พบเห็นชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นในแต่ละท้องถิ่นได้ลึกมากขึ้น
พวกเรามองเห็นวิวสองข้างทางได้ชัดมากขึ้น
พวกเราได้มีเวลาศึกษาแผนที่ของจุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปถึงมากขึ้น
"ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" มันเป็นแบบนี้นี่เอง
ขอบคุณข้อมูลและรูปตั๋วจาก japan-guide.com
ไม่ใช่ตัวเลือกแรกในการเดินทาง
ยิ่งงบจำกัดมากเท่าไร ยิ่งต้องค้นหาข้อมูล เตรียมตัวมากขึ้นกว่าคนอื่นหลายเท่า
การไปญี่ปุ่นด้วยตัวเองครั้งแรกเมื่อปี 2011 เวลา 9 วันกับงบประมาณ 100,000 เยน พร้อมเพื่อนร่วมทางอีก 4 คน พวกอยู่รอดได้อย่างสบายๆ กินอิ่มนอนหลับตามอัตภาพ ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณใครก็ตามที่คิดค้นตั๋ว Seishun 18 Kippu (18 อ่านว่า Juhachi) ขึ้นมา (ประหนึ่งมันเป็นของวิเศษจากกระเป๋าโดเรมอนที่ช่วยให้เราประหยัดค่าเดินทางไปได้เยอะ)
หากใครประทับใจกับความรวดเร็ว สะดวกสบายของการเดินทางด้วยชิงกันเซน ต้องการไปถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วที่สุด แถมงบไม่อั้น ขอให้ข้ามโพสต์นี้ไป เพราะ Seishun 18 Kippu เป็นพาสที่ใช้ได้เฉพาะกับรถไฟท้องถิ่นเท่านั้น (พวกเราเรียกตั๋วใบนี้ว่า "บัตรเบ่งสำหรับรากหญ้า") ซึ่งระดับความช้าเทียบได้กับเต่าคลานเลยทีเดียว
แต่ความพิเศษของบัตรนี้ไม่ได้อยู่แค่การใช้ขึ้นรถไฟท้องถิ่นฟรีตลอดวัน แต่ความหยืดหยุ่นของบัตรนี้ ทำให้เราถึงกับอึ้ง+ทึ่งในความคิดสร้างสรรค์ของเงื่อนไขการใช้ตั๋ว
Seishun 18 Kippu ราคา 11,500 เยน ใช้ได้ทั้งหมด 5 ครั้ง และสามารถแบ่งกันใช้กับเพื่อนได้ ซึ่งคำว่า "ครั้ง" นี่แหละ ที่ทำให้ตั๋วนี้มีความพิเศษขึ้นมา
แบบที่ 1 หากมาเที่ยวพร้อมกัน 5 คน ทุกคนสามารถแบ่งกันใช้ตั๋วนี้ได้ตลอดการเดินทาง 1 วัน
ขอยกตัวอย่างการใช้ตั๋วแบบที่ 1 จากประสบการณ์ตรง พวกเรา 5 คนใช้ตั๋วนี้เดินทางจาก Nagoya ไป Takayama ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ถ้าตั้งใจไปเที่ยวมักเลือกเดินทางด้วย Hida Wide View Train แต่ด้วยตั๋วนี้ไม่สามารถเดินทางด้วยรถไฟดังกล่าวได้ เราทั้ง 5 คนจึงต้องเดินทางด้วยรถไฟท้องถิ่น เดินทางตั้งแต่เช้าแวะเที่ยว Gero Onsen เมืองน้ำพุร้อนก่อนถึง Takayama ค่าเดินทางเฉลี่ยคนละ 2,300 เยนเท่านั้น
แบบที่ 2 หนึ่งคนใช้เดินทางทั้ง 5 วันเลยก็ได้ (การใช้ในแต่ละวันไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดิม)
แบบที่ 3 สองคนแบ่งกันใช้ร่วมกันใน 2 วัน และอีกคนใช้หนึ่งครั้งที่เหลือ
แบบที่ 4 สองคนแบ่งกันใช้ในวันเดียว และหนึ่งคนใช้อีก 3 วันที่เหลือ
แบบที่ 5 สามคนแบ่งกันใช้ในวันเดียว อีกสองคนแบ่งกันใช้อีก 1 วัน
และแบบอื่นๆอีกมากมาย แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้
แบบที่ 2 หนึ่งคนใช้เดินทางทั้ง 5 วันเลยก็ได้ (การใช้ในแต่ละวันไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดิม)
แบบที่ 3 สองคนแบ่งกันใช้ร่วมกันใน 2 วัน และอีกคนใช้หนึ่งครั้งที่เหลือ
แบบที่ 4 สองคนแบ่งกันใช้ในวันเดียว และหนึ่งคนใช้อีก 3 วันที่เหลือ
แบบที่ 5 สามคนแบ่งกันใช้ในวันเดียว อีกสองคนแบ่งกันใช้อีก 1 วัน
และแบบอื่นๆอีกมากมาย แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้
แต่ของดีราคาถูกแบบนี้ไม่ได้มีขายกันตลอดทั้งปีนะ เพราะในหนึ่งปี Seishun 18 Kippu มีขายแค่ 3 ช่วงเท่านั้น
Period | ||
Spring | ||
Summer | ||
Winter |
ลองสัมผัสบรรยากาศรถไฟท้องถิ่น และอาจพบว่าความช้าไม่ได้มากับความน่าเบื่อเสมอไป
เพราะในบางช่วงของการเดินทางด้วยตั๋ว Seishun 18 Kippu ทำให้
พวกเรา 5 คนเหมือนมีโบกี้รถไฟเป็นของตัวเองให้เลือกที่นั่งได้อย่างอิสระ
พวกเราได้พบเห็นชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นในแต่ละท้องถิ่นได้ลึกมากขึ้น
พวกเรามองเห็นวิวสองข้างทางได้ชัดมากขึ้น
พวกเราได้มีเวลาศึกษาแผนที่ของจุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปถึงมากขึ้น
"ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" มันเป็นแบบนี้นี่เอง
ขอบคุณข้อมูลและรูปตั๋วจาก japan-guide.com
ขอบคุณภาพประกอบอื่นๆจาก ศิระ (ก็อปไปใช้ให้เครดิตด้วยนะ)
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ร้อนนี้ที่ Kamakura
เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่น
สิ่งหนึ่งที่รู้สึกอิจฉาคนในประเทศนี้เสมอ คือ อากาศ
ไม่ใช่แค่ความหนาวเย็นที่หาไม่ได้ในเมืองไทย
แต่ฤดูที่เปลี่ยนไป
ทำให้การใช้ชีวิตและกิจกรรมต่างๆของผู้คนไม่จำเจ
การแต่งตัว กิจกรรม
และอาหาร ล้วนแตกต่างออกไปตามฤดูกาล
จากที่เคยเห็นคนแบกอุปกรณ์สกีขึ้นรถไฟเมื่อตอนเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมา
ก็มีโอกาสได้เห็นหนุ่ม-สาวจากโตเกียว แบกกระดานโต้คลื่น
พร้อมด้วยอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมริมทะเลอื่นๆ
มุ่งหน้าสู่เมือง Kamakura
Zaimokuza และ Yuigahama เป็นสองชายหาดในเมือง Kamakura ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ เนื่องจากนั่งรถไฟเพียงแค่ชั่วโมงเดียวจากโตเกียว
ก็จะได้รับลมทะเลเย็นๆ และแสงแดดที่เหมาะกับการอาบแดด หรือลงเล่นน้ำทะเล
แถมยังมีร้านอาหารชั่วคราวตั้งเรียงรายริมหาดให้ได้เลือกพักท้องพร้อมปาร์ตี้ย่อมๆกันได้
หากเล่นน้ำทะเลจนเต็มอิ่มแล้ว แช่ออนเซนก่อนเดินทางกลับบ้านก็จะช่วยให้ร่างกายสบายมากขึ้น
ในพื้นที่ Kamakura มีออนเซนเพียงแห่งเดียวที่สถานี Inamuragasaki ห่างจากสถานี Kamakura
โดยรถไฟสาย Enoden ประมาณ 4 สถานี ราคาสำหรับการแช่ออนเซนอยู่ที่ 1500 เยนต่อคน
จบ One Day Trip ช่วงหน้าร้อนแบบฉบับโตเกียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)